ภาพ 3 มิติ ของ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

ดูบทความหลักที่: การเห็นเป็น 3 มิติ

ตาทั้งสองมีเขตการมองที่คาบเกี่ยวกันเพราะตาอยู่ที่ศีรษะด้านหน้า ไม่ใช่ด้านข้างเขตที่คาบเกี่ยวกันนี้ทำให้ตาแต่ละข้างมองเห็นวัตถุเดียวกันแต่ต่างมุมกันเล็กน้อยเพราะความคาบเกี่ยวกันนี้ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาจึงทำให้สามารถรู้ความใกล้ไกล[18]เป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อมองด้วยสองตาสำหรับคนที่มองเห็นด้วยสองตาได้เป็นปกติ[18]ภาพเดียวกันที่ตกลงที่จอตาทั้งสองข้างจะต่างกันเล็กน้อยเพราะตำแหน่งของตาที่ต่างกันบนศีรษะความต่างที่สองตา (binocular disparity) เยี่ยงนี้จะให้ข้อมูลหลักอย่างหนึ่งแก่สมองเพื่อใช้คำนวณความใกล้ไกลของสิ่งที่เห็น[18]

การเห็นเป็น 3 มิติมีปัจจัยสองอย่าง คือ ธรรมชาติของสิ่งเร้าที่ให้ข้อมูล 3 มิติ และกระบวนการในสมองที่ประมวลข้อมูลนั้น[18]ระยะห่างระหว่างสองตาของผู้ใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 6.5 ซม.[18]ความต่างบนจอตา (Retinal disparity) ก็คือความห่างของภาพวัตถุต่าง ๆ ที่ตกลงบนจอประสาทตาด้านซ้ายและขวา ซึ่งให้ข้อมูลความใกล้ไกล[18]แต่เป็นความใกล้ไกลโดยเปรียบเทียบระหว่างวัตถุต่าง ๆ ไม่ใช่ความใกล้ไกลที่แม่นยำหรือสัมบูรณ์วัตถุสองอย่างยิ่งใกล้กันเท่าไร ความต่างบนจอตาก็จะเล็กลงเท่านั้นถ้าวัตถุห่างกัน ความต่างบนจอตาก็จะใหญ่ขึ้นถ้าวัตถุอยู่ใกล้ไกลเท่ากัน ก็จะไม่มีความต่างที่จอตา[18]

ใกล้เคียง

การเหมารวม การเห็นเป็น 3 มิติ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา การเห็นภาพซ้อน การเห็นด้วยตาเดียว การเห็นแกว่ง การเหน็บแนม การเห็นคุณค่าในตัวเอง การเห็น การเหมือนมีก้อนในลำคอ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา http://www.etymonline.com/index.php?term=binocular http://www.merriam-webster.com/dictionary/horopter http://www.VisionSimulations.com/ http://webeye.ophth.uiowa.edu/eyeforum/tutorials/B... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15371590 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18992271 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19152718 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2634283 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2857785 //www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2011/MB_cgi?mode=&term=...